Wednesday, December 25, 2019

มาฝึกแหลงใต้ม้ายน้อง รวมคำศัพท์ภาษาใต้น่ารู้

มาฝึกแหลงใต้ม้ายน้อง รวมคำศัพท์ภาษาใต้น่ารู้

หลังจากฝึกเว้าภาษาอีสาน อู้ภาษาเหนือ กันไปแล้ว วันนี้เรามาฝึกแหลงภาษาใต้กันบ้าง “แหลงใต้ได้หม้าย ลองแลถิ” ซึ่งภาษาใต้ ก็เป็นอีกหนึ่งภาษา ที่มีจังหวะการพูดและท่วงทำนองน่าค้นหา และเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ถ้าพร้อมแล้วมาเรียนรู้ภาษาถิ่นใต้เก๋ๆ กัน แต่จะมีคำว่าอะไรบ้างนั้น มาติดตามกันเลย

มาฝึกแหลงใต้ม้าย รวมคำศัพท์ภาษาใต้น่ารู้

พรือ : อย่างไร

พันพรือมั่ง : เป็นอย่างไรบ้าง

หม้ายพรือ : สบายดีไหม

ว่าพรือ : ว่าอย่างไร

ทำพรือ : ทำอย่างไร

หวัก : ทัพพี

หนังโหม้ง : หนังตะลุ

 ภาษาใต้, ประโยคภาษาใต้, สวย ภาษาใต้, คำด่าภาษาใต้, อร่อยภาษาใต้, น่า รัก ภาษา ใต้ คือ, ขอบคุณ ภาษาใต้, ข้าพเจ้า ภาษาใต้, กลอนรักภาษาใต้

ดังฉาวเทือน : เสียงดัง

หรอยแรง : อร่อยมาก

สวยหนัด : สวยมาก

พี่บ่าว : พี่ชาย

แหลง : พูด

หายเบ่อ : สมน้ำหน้า

หลูกหลาก : สกปรก

ชาด : แหม – คำอุทานที่แสดงถึงความประหลาดใจ หรือผิดหวัง ไม่เป็นอย่างที่คิด

โทรหล๊อบมาทีนะ : โทรกลับมาทีนะ

มาต่ะ : มาสิ

หวังเหวิดโร่ม้าย : ห่วงใยหรือเปนห่วงรู้ไหม

รักหนัดเหนียง : รักมากมาย (ตรึม)

หมาหม้ายเด้ : ไม่มีนะ

หวางเบล๋อไปแหละ : หายโง่ไปดิ

เอิด : กร่าง หรือ นักเลง

อ้อร้อ : ผู้หญิงไม่เรียบร้อย , กระแดะ

อาด : ผู้หญิงไม่เรียบร้อยหนักมากกกกก

เบล่อ : ไม่อยู่กับร่องกับรอย , เงอะๆ งะๆ

ขาดหุ้น : สติไม่สมประกอบ , ไม่รู้เรื่อง

ทำเฒ่า : อย่ายุ่ง

เฉียวฉาว, เชียวชาว : ไม่ค่อยสบายตัว

สับปลับ : พูดจาโกหกกลับไปกลับมา

ขี้หก : โกหก

หึงสา : อิจฉา

รถถีบ : รถจักรยาน

แหลง : ความหมายคือพูดตัวอย่าง

แลหวัน : มองหรือดูตะวัน

ไซร์ : ทำไม

พันพรือหล้าว : เป็นยังไงอีก

คุมวัน : จนทุกวันนี้

เวด-นา : มาจาก เวทนา น่าสงสารดูไม่ได้

แคงควน : เอียงหรือไม่ตรง

เซน : เอียง หรือ ไม่ตรง

ในโย : ปัจจุบัน

หวิบ : โมโห

ไม่รู้หวัน : ไม่รู้เรือง

เกือก : รองเท้า

อีโหว้ง-วก : ใช้เรียกคนที่โง่ ไม่รู้เรื่อง

หลบ, หล็อบ (หล๊อบ) : กลับ

เริน : บ้าน, เรือน

ขวยใจ (ข้วยใจ๋), หวังเหวิด (หวั้งเวิ้ด) : กังวลใจ เป็นห่วง

จังหู (จั่งหู้), จังหัน (จั่งหั้น), คาลักคาลุย, กองลุย, กองเอ, ราสา, หนัดเหนียน : เยอะแยะ มากมาย

หิด, หิดหุ้ย, แต็ด, แยด : เล็กน้อย นิดหน่อย ไม่มาก

แต่วา, แรกแต่วา : เมื่อวานนี้

ต่อเช้า, ต่อโพรก : พรุ่งนี้

ต่อรือ : วันมะรืน

ต่อเหรือง : วันถัดไปของวันมะรืน

ขาดหุ้น (ข้าดหุ๊น), เบา, ฉ็อมฉ็อม : ไม่เต็มเต็ง ไม่เต็มบาท ไม่รู้เรื่องหรือไม่ฉลาด

ทั้งเพ : ทั้งหมด ทั้งสิ้น

ได้แรงอก (ด่ายแหร่งอ็อก) : สะใจ ถูกใจ เป็นอาการแสดงออกถึงรู้สึกความพอใจอย่างที่สุด

แง็ง : เป็นอาการดุ หรือแสดงอาการข่มขู่คู่ต่อสู้ของสุนัข

ด้น (ด่อน) : ดุร้าย

หม้ายไหร (ม้ายหรั้ย), เปลาๆ, ลอกอ : ไม่มีอะไร หรือฐานะยากจน

หาม้าย : ไม่มี

ฉาด (ฉ้าด), หมดฉาด (หม๊ดฉ้าด), เหม็ดฉาด (เม๊ดฉ้าด) : หมด ไม่มี หมดเกลี้ยง

เอิด,เหลิด (เหลิ้ด) : ทำตัวกร่าง ทำเป็นเก่ง

หยบ (หย๊อบ) : แอบ หลบหรือซ่อน

พลัดพรก, เหลินดังแส็ก : อาการของการหล่นลงมาอย่างแรง (เหลิน = หล่น)

พรือโฉ้ : เป็นอาการที่บอกไม่ได้ อธิบายไม่ถูก

โหม : หมู่ พวก กลุ่ม

เมล่อ, เบล่อ (อ่านพยางค์เดียวควบกล้ำ ม – ล – สระเออ) : ไม่เอาไหน ไม่ได้เรื่อง

ทำถ้าว : ยุ่งเรื่องคนอื่น

เนียนแจ็กแจ๊ก : เละเทะ ไม่เหลือชิ้นดี

ตอใด : เมื่อไหร่

ขี้มิ่น : ขมิ้นใส่ในแกงของคนใต้

ขี้พร้า : ฟัก

เหล็กขูด : กระต่ายขูดมะพร้าว

เหล็กโคน : ตะปู

แล้วหม้าย : แล้วหรือยัง

อี : จะ, กำลังจะ

กวน อก : อาการอาเจียน พะอืดพะอม

กวาดหย้าก : กวาดขยะ

แล ไอ ไร่ : มองอะไร

กางหลาง : เกเร

กินข้าวแล้วม้าย : เป็นคำถามว่า กินข้าวแล้วยัง

เก้ง : ตั้งทิ้งไว้

เกือก : รองเท้า

เกือกฟองน้ำ : รองเท้าแตะ

แกงเท่ : แกงกะทิ

โกปี้ : กาแฟ

โกห้าน : สะเดาะเคราะห์

ขนมค่อม : ขนมใส่ไส้

ขบ : กัด

ขล๊อง : ซน

ขวยใจ : เป็นห่วง กลุ้มใจ

ข้างเริน : ข้างบ้าน

ข้าวต้มลาว : ข้าวต้มมัด

ขี้กรา : ตะไคร่น้ำ

ขี้คร้าน : ขี้เกียจ

ขี้ฉ้อ : ขี้โกง

ขี้โดก : ผอมจัด หรือ ขี้เหนียวจัดก็ได้

ขี้ทก : โกรธง่าย

ขี้มิ้น : ขมิ้น

ขี้ฮก : โกหก

ขี้หลี : เจ้าชู้

แขบ : รีบ หรือ เร็ว

คง : ข้าวโพด

แคง : เอียง

แค้น : จุก

โคม : กะละมัง

จอก : แก้วน้ำ

ฉ็องด็อก : ทะเล้น, ทะลึ่ง

จังหู (จั่งหู้), จังหัน (จั่งหั้น) : มากมาย, เยอะ

เจ็บเบ็ดหัว : ปวดหัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

เจ็บพุง : ปวดท้อง

ฉับโหยง : กระดานหก

ฉา : ตะกร้า

ฉู้ด : กระเด็น, กระเซ็น

โฉ : เสียงดัง

ชมพู่ : ฝรั่ง

ชมพู่แก้ว : ชมพู่

ชั้น : ปิ่นโต

ชาโขย, ชาโก้ย : ปาท่องโก๋

หลบ, หล็อบ (หล๊อบ) : กลับ

เริน : บ้าน, เรือน

แต่วา, แรกแต่วา : เมื่อวานนี้

ต่อเช้า, ต่อโพรก : พรุ่งนี้

ต่อรือ : วันมะรืน

ทั้งเพ : ทั้งหมด ทั้งสิ้น

ได้แรงอก (ด่ายแหร่งอ็อก) : สะใจ ถูกใจ เป็นอาการแสดงออกถึงรู้สึกความพอใจอย่างที่สุด

แง็ง หมายความว่า : เป็นอาการดุ หรือแสดงอาการข่มขู่คู่ต่อสู้ของสุนัข

ด้น (ด่อน) หมายความว่า : ดุร้าย

หาม้าย : ไม่มี

ฉาด (ฉ้าด), หมดฉาด (หม๊ดฉ้าด), เหม็ดฉาด (เม๊ดฉ้าด) หมายความว่า : หมด ไม่มี หมดเกลี้ยง

เอิด, เหลิด (เหลิ้ด) หมายความว่า : ทำตัวกร่าง ทำเป็นเก่ง

หยบ (หย๊อบ) หมายความว่า : แอบ หลบหรือซ่อน

หน่ามต๊าว, น้ำเต้า : ฟักทอง

ดีปลี : พริก

ดานเชี้ยง, ดานเฉียง : เขียง

หน่ำฉุบ, น้ำชุบ : น้ำพริก

ฮั้วฉ่าว, หัวเช้า : ตอนเช้า

เนือย : หิว

ยิก : ไล่

ส้มนาว : มะนาว

ตอฉ่าว, ต่อเช้า : พรุ่งนี้

หยบ : ซ่อน

หย่านัด, ย่านัด : สับปะรด

หวันมุ้งมิ้ง : โพล้เพล้

เคย : กะปิ

ขี้หก : โกหก

ท้ายครก : เม็ดมะม่วงหิมพานต์

แขว็ก, แคว็ก : แคะ

สาวนุ้ย : น้องสาว

พันปรือม้าง : เป็นยังไงบ้าง

พลัดพรก, เหลินดังแส็ก : อาการของการหล่นลงมาอย่างแรง (เหลิน = หล่น)

ขี้พร้า : ฟัก

มะลิ, ย่านหนัด : สัปรด

หัวครก, ยาร่วง : มะม่วงหิมพาน

หมาถั้ง : ภาชนะที่ใช้ตักน้ำในบ่อ

เหล็กขูด : กระต่ายขูดมะพร้าว

เหล็กโคน : ตะปู

หมาโร้ไอ้ไหรไหม : อะไรก็ไม่รู้

Link Source : https://teen.mthai.com/education/176919.html

ภาษาใต้, ประโยคภาษาใต้, สวย ภาษาใต้, คำด่าภาษาใต้, อร่อยภาษาใต้, น่า รัก ภาษา ใต้ คือ, ขอบคุณ ภาษาใต้, ข้าพเจ้า ภาษาใต้, กลอนรักภาษาใต้

No comments:

Post a Comment