รู้จัก 'อุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ' ที่ญี่ปุ่นใช้งบสร้างกว่าแสนล้าน เพื่อป้องกันและรับมือเหตุน้ำท่วม
ประเด็นน่าสนใจ
- เผยทุกเรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ ‘อุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ’ ที่รัฐบาลญี่ปุ่นสร้างขึ้นเพื่อรับมือ และป้องกันเหตุน้ำท่วม
- ญี่ปุ่นทุ่มงบประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท และใช้เวลาสร้างนาน 8 ปี
- อุโมงค์แห่งนี้เป็นการป้องการเหตุน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นโมเดลต้นแบบของการรับมือกับเหตุน้ำท่วมที่ได้รับคำชมจากทั่วโลก
ประเทศญี่ปุ่นนับได้ว่าเป็นประเทศหนึ่ง ที่เกิดภัยพิบัติอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็เป็นประเทศที่มีการเตรียมตัว และวิธีที่ชาญฉลาด ตื่นตัว แต่ไม่แตกตื่นกับการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่เสมอ รวมทั้งทางการ รัฐบาล และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ยังมีขั้นตอน มาตรการในการรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างดีเยี่ยม
สำหรับสถานการณ์ พายุไต้ฝุ่นฮากิบิส ที่รุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี นอกจากนี้ มีการกล่าวด้วยว่า “ฮากิบิส” อาจเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งแม้ว่าขณะนี้พายุในแถบรอบๆโตเกียวได้เงียบสงบลงแล้ว แต่ทางการญี่ปุ่นยังคงประกาศแนะนำว่าห้ามออกจากบ้านจนกว่าพายุจะพ้นออกไป
-
รู้จัก ‘อุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ’
รู้จัก ‘อุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ’
เมื่อพูดถึงหนึ่งในโครงการที่ทั่วโลกรู้จักและพูดถึงคือ ‘อุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ’ (Metropolitan Area Outer Underground Discharge Channel) ที่ซ่อนตัวอยู่ใต้มหานครโตเกียว ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่น ทุ่มงบประมาณมหาศาลกว่า 3 แสนล้านเยน หรือ เกือบ 1 แสนล้านบาท และใช้เวลายาวนานกว่า 8 ปี ในการดำเนินโครงการ
โดย ‘อุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ’ เริ่มก่อสร้างขึ้นปี 1992 และแล้วเสร็จในปี 2000 ทั้งนี้แม้ว่าโครงการนี้จะใช้งบประมาณมากมายมหาศาล แต่ก็นับได้ว่า เป็นการดำเนินการที่คุ้มค่า เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างดีเยี่ยมโครงการหนึ่ง
-
ทำไมถึงเริ่มสร้างอุโมงค์นี้ขึ้นมา ?
ทำไมถึงเริ่มสร้างอุโมงค์นี้ขึ้นมา ?
สาเหตุที่มีการสร้างอุโมงค์ยักษ์แห่งนี้ขึ้นมา เนื่องจากบริเวณดังกล่าว มักได้รับความเสียหายจากเหตุน้ำท่วมหลายครั้ง เรียกได้ว่าเกิดน้ำท่วมขึ้นเกือบจะทุกปี เพราะลักษณะของดินในพื้นที่ที่มีรูปร่างเหมือนชาม ทำให้ง่ายต่อการกักเก็บน้ำเอาไว้ ความลาดชันของแม่น้ำก็มีน้อย ทำให้น้ำไหลลงทะเลได้ยาก
ดังนั้นเมื่อเกิดฝนตกหนัก ระดับน้ำจะลดลงช้า นอกจากนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในพื้นที่นี้ มีความก้าวหน้าเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พื้นที่ทั่วไปเป็นเขตเมือง จึงทำให้น้ำฝนซึมลงพื้นได้ยากขึ้น แทนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโดยตรง จึงทำให้เกิดน้ำท่วมได้ง่ายขึ้น
-
ใช้ทรัพยากรทุกอย่างอย่างคุ้มค่า !
ใช้ทรัพยากรทุกอย่างอย่างคุ้มค่า !
ทั้งนี้ อุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ ที่ด้านล่าง ดูแล้วเหมือนภายในมหาวิหาร หรือ เหมืองมอเรียจากหนังเรื่อง Lord of the Ring มีความยาว 6.3 กิโลเมตร และลึกลงไปใต้ดินมากกว่าความลึกของรถไฟใต้ดินเสียอีก ซึ่งการก่อสร้าง เป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังใช้ประโยชน์จากดินที่ขุดขึ้นมาเพื่อสร้างอุโมงค์ นำไปรีไซเคิลเพื่อสร้างเขื่อนในแม่น้ำเอโดกาวะอีกด้วย
ทั้งนี้ ‘อุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ’ มีกลไลในการระบายน้ำคือ ใช้วิธีเชื่อมต่อเพื่อระบายน้ำจากแม่น้ำขนาดเล็กและขนาดกลางเช่นแม่น้ำนาคางาวะแม่น้ำคุระมัตสึแม่น้ำโอโตชิที่จะไหลลงมาในไซโล
โดยทางระบายแต่ละแท่ง มีความสูงประมาณ 70เมตรและกว้าง 30 เมตร ซึ่งน้ำจะถูกปั้มผ่านอุโมงค์น้ำใต้ดินกว้าง 10 เมตร วิ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 16 ยาวไปยังแท็งค์กักเก็บน้ำในเมืองคัสสึคาเบะ ที่มีขนาดกว้าง 78 เมตร ยาว 177 เมตร สูง 18 เมตร หลังจากนั้นน้ำจะถูกปั้มลงแม่น้ำเอโดะ เพื่อปล่อยลงสู่อ่าวโตเกียวต่อไป
-
ผนวกอุโมงค์เข้ากับเทคโนโลยีและการศึกษา
ผนวกอุโมงค์เข้ากับเทคโนโลยีและการศึกษา
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีการผนวกเอาขั้นตอนการทำงานจากอุโมงค์เข้ากับเทคโนโลยี โดยมีการสร้างห้องควบคุม ที่มีหน้าจอควบคุมระบบภายในอุโมงค์ต่าง ๆ กว่า 20 เครื่อง ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถสอดส่อง ดูแล ควบคุมสถานการณ์ระดับน้ำได้อย่างทั่วถึง
สิ่งที่น่าสนใจของอุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ คือประชาชนทั่วไปก็สามารถยังเข้าไปชม และหาความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของอุโมงค์ระบายน้ำขนาดยักษ์แห่งนี้ได้ โดยจะมีการอธิบายถึงขั้นตอน ของการระบายน้ำจากอุโมงค์ยักษ์ แบบเข้าใจได้ง่าย ที่คนทั่วไป สามารถเข้าใจได้ ทำให้ที่นี่กลายเป็นผลงานด้านวิศวกรรมที่ยอดเยี่ยม และมีวิศวกรจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมาดูงานที่อุโมงค์แห่งนี้เป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของอุโมงค์แห่งนี้ทำให้ บ้านที่ถูกน้ำท่วมในเขตเมืองรอบลดลงอย่างมาก และช่วยลดความเสียหายจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำเป็นเวลาหลายปี
No comments:
Post a Comment